ฮาลาล ความหมายที่แท้จริง ของฮาลาล มาจากไหนและสำคัญอย่างไร ?

ฮาลาล

ฮาลาล สัญลักษณ์สำหรับชาวมุสลิม มาจากไหนและสำคัญอย่างไร ?

ฮาลาล สัญลักษณ์ที่คุณ มักจะพบตาม ห่อผลิตภัณฑ์ สินค้าบริโภค อุปโภคต่าง ๆ และแน่นอนว่า คุณคงรู้ว่า ฮาลาลคืออะไร ? หมายถึงอะไร ? แต่คุณอาจจะ ไม่ได้รู้ถึง ที่มาหรือความหมาย แท้จริงของสัญลักษณ์นี้ และหากนี่คือ สิ่งที่คุณอยากรู้ มีความสนใจ ก็ต้องไปติดตาม กันต่อแล้วค่ะ^^

ความหมายที่แท้จริง ของสัญลักษณ์ฮาลาล คืออะไรกัน ?

ความหมายฮาลาล ชาวมุสลิมนั้นมี ความเชื่อว่าไม่มี พระเจ้าไหนนอกเหนือ จากพระอัลลอฮ์ นบีมุฮัมมัด เชื่อว่าอัลลอฮ์ นั้นเป็นผู้สร้าง มนุษย์และทุกสิ่ง บนโลกใบนี้ ดังนั้นคำสอน ของชาวมุสลิม ก็จะเป็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนที่ จริงจังและจริงใจ พูดง่าย ๆ ก็คือมุสลิม จะปฏิบัติในสิ่งที่ อนุมัติให้ทำได้ และไม่ปฏิบัติในข้อห้าม ด้วยความยินดี โดยไม่รู้สึกฝืน หรือไม่เต็มใจค่ะ

ฮาลาลนั้น จึงแปลรวมได้ว่า การปฏิบัติตน ตามวิถีที่ถูกต้อง และสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้หมายถึง เพียงแค่การรับประทาน อาหารเท่านั้น

ฮาลาล

ผลิตภัณฑ์อาหาร ฮา ลา ล (Halal Food) ถือว่าจำเป็น สำหรับชาวมุสลิม อย่างมากเลยค่ะ หากคนที่รับประทาน อาหารที่มีฮาลาล (คนศาสนาอื่น) ก็จะได้รับประโยชน์ จากอาหารเพราะว่า สัญลักษณ์ฮาลาล คือการยืนยันแล้วว่า สิ่งสิ่งนั้นถูกต้องตามหลัก ข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม มีประโยชน์แน่นอน (อิสลามเรียกว่าตอยยิบ)

สำหรับอาหาร มาตรฐาน ฮาลาล คือ การที่ได้มาจาก Codex คณะกรรมาธิการ เกี่ยวกับอาหาร ระหว่างประเทศ จัดทำเอกสาร เกี่ยวกับฮาลาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และสำนักงาน ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่าสมอ. ก็นำมาแปล เรียบเรียงใหม่ให้ เป็นภาษาไทย และทำการจัดพิมพ์ ออกมาเป็น มอก. 1701-2541 ZCAC GL- 24/1997

ปัจจุบันนี้ มีผู้บริโภค ที่เป็นชาวมุสลิม อยู่ประมาณ 2 พันล้านคนได้ Halal สิ่งนี้จัดว่า เป็นสากลนะคะ เพราะทุกประเทศจะใช้ ข้อบัญญัติอาหารฮาลาล เหมือนกันหมด ให้ผู้นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ละประเทศ เข้าใจตรงกันนั่นเอง นอกจากอาหารสำเร็จรูป ก็ยังหมายถึง อาหารแปรรูป การเตรียมอาหาร ไปถึงขั้นตอนใหญ่ ๆ อย่างการฆ่าสัตว์ การห่อสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์ ฮาลาล การขนส่งและการถนอม รักษาอาหาร

ฮาลาล

การขอเครื่องหมายฮาลาล มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

7ขั้นตอน กับการเตรียมตัว เพื่อขอเครื่องหมาย Halal

  • ขั้นตอนแรก คุณต้องรู้ก่อน ว่าจังหวัดของคุณ นั้นมีสำนักงานอิสลาม ประจำจังหวัดหรือไม่ ? หากมีก็สามารถ เตรียมข้อถัด ๆ ไปได้เลย แต่หากไม่มี แนะนำให้ตรวจสอบ ไปที่เว็บไซต์ Cicot.or.th หรือติดต่อเลขหมาย 02-096-9499
  • ถึงเวลาของ การเตรียมเอกสาร ซึ่งจะประกอบไปด้วย เอกสารคำขอ HL.Cicot OC 01-08 พร้อมกับเอกสาร ฟอร์มคำขอเพิ่มเติม ในเว็บไซต์ cicot.or.th จะมีหน้าให้ดาวน์โหลด เอกสารคำขออยู่ 2 ไฟล์ค่ะ
  • หลังจากยื่นเอกสาร แล้วนั้นเจ้าหน้าที่ จะทำการตรวจสอบ เอกสารของเรา ภายในระยะ 7 วันทำการได้
  • พร้อมชำระค่า ธรรมเนียมการตรวจสอบ สถานที่ประกอบการ โดยจะได้รับเอกสาร หลังจากส่งใบ ขอสัญลักษณ์ฮาลาลไป ไม่เกินภายใน 15 วัน สามารถดูรายละเอียด ได้ในเว็บไซต์เดียวกัน
  • หลังจากเอกสารเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะนัด เข้ามาดูร้านค้า หรือโรงงานที่ขอไป โดยเขาก็จะแจ้ง วันที่และเวลาก่อนมา ดูกันตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต เครื่องมือ คลังสินค้า และการขนส่ง เป็นต้น
  • หากในขั้นตอน เข้าไปตรวจสอบ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ ด้านอาหารมี ความสงสัยเกี่ยวกับ ส่วนประกอบตรงไหน สามารถนำไปตรวจได้เลย
  • เรียบร้อย! หลังจากประชุม เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลา อนุมัติการใช้ เครื่องหมาย Halal ได้เลยค่ะ
  • ชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง เพื่อรับเอกสารข้อมูล มาไว้ครอบครอง ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ จะใช้ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ไม่ว่าจะนำไป ติดบนผลิตภัณฑ์ตัวเอง หรือใช้โฆษณา สินค้าก็ตาม หลังจากนั้น ก็ต้องยื่นขอใหม่ ก่อนล่วงหน้าภายใน 60 วัน ก่อนหมดอายุ

ฮาลาล

รายชื่อ ผลิตภัณฑ์ ฮาลาล มีข้อห้ามอะไรบ้าง ?

  • ข้อสำคัญของ สัญลักษณ์ฮาลาล คือการห้ามใช้ ‘ซากสัตว์’ที่ล้มตายเอง โดยไม่ผ่านการฆ่า เพราะนั่นหมายถึง ความน่ารังเกียจ เขาถือคติว่า สัตว์นั้นอาจจะป่วย จนล้มตาย หรือมีโรคประจำตัว การกินเนื้อสัตว์นั้น จึงอาจจะเกิดอันตรายได้
  •  ห้ามกินเลือด เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ สำหรับมนุษย์กันเองด้วย และอาจจะเป็นอันตราย ต่อร่างกายได้
  • ห้ามกินสัตว์ที่ถูกเชือด ในที่นี้หมายถึง การฆ่าโดยไม่ผ่าน วิธีการแบบ อิสลามโดยแท้ ที่เป็นหลักศาสนา เช่น การบีบรัดคอจนตาย การทรมานหรือตีจนตาย สัตว์ตกจากที่สูง ซึ่งหลักการที่ถูกต้อง จะใช้วิธีการ ให้ชาวมุสลิม เป็นผู้เชือดหลอดลม หรือหลอดอาหาร ให้ขาดออกจากกัน และเสียชีวิตทันที โดยไม่มีความทรมาน 
  • เจ้าหน้าที่ควบคุม การผลิตและผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นชาวมุสลิม

ข้อบัญญัติอาหารฮาลาล

ส่วนตัวผู้เขียนเอง ก็เคยได้คลุกคลี กับชาวมุสลิมอยู่พักหนึ่ง จะเห็นว่ามี ทั้งชาวมุสลิมที่เคร่ง ในการปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติทั้งหมดนี้ และมีผู้ที่ไม่เคร่งครัด สำหรับคนที่เคร่ง เขาจะไม่กินอาหาร ที่ไม่ใช่ร้านอิสลามกันเอง หรือถ้าไม่มีฮาลาล ต้องรู้ที่มาที่ไปจริง ๆ ของร้านนั้น จึงจะสามารถกินได้ ไม่งั้นก็ไม่สบายใจ

อันนี้มันก็เป็น เรื่องของความเชื่อ และความศรัทธาจริง ๆ ซึ่งเราก็ต้อง ทำความเข้าใจ อยู่เหมือนกันค่ะ แต่ส่วนมากจะนิสัยดี และน่ารักมากเลย^^

เรียบเรียงโดย M.Varin